30 พฤษภาคม 2552

สาเหตุของการปฏิวัติ





สาเหตุของการปฏิวัติ
สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

สภาพทางสังคม
สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

[แก้] การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

[แก้] การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ

[แก้] สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

[แก้] สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

[แก้] สภาพทางสังคม
สมัยนั้น สังคมของ
ฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ใน
รัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

[แก้] การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บ
ภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

[แก้] การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทาง
ศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ

[แก้] สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด
ในปี
พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี
พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี
พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์

ความเป็นมาของเกาะภูเก็ต



ภูเก็ต

......ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม......
ภูเก็ต เป็นชื่อที่ใช้เรียกในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้เราใช้ชื่อว่า " ภูเก็จ " แปลว่าเมืองแก้ว ซึ่งตรงกับความหมายเดิมที่ชาวทมิฬเรียกเมืองนี้ว่า " มณีคราม " ตามหลักฐานที่ปรากฎเมื่อ พ.ศ. 1568 ภูเก็ต เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มานานนับพันปี เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือ ที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดียผ่านแหลมมลายู มีหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดแสดงในแผนที่เดินเรือชาวปโตเลมี ซึ่งได้กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิ ลงมาแหลมมลายู ต้องผ่านแหลมจังซีลอน ซึ่งก็คือเกาะภูเก็ตนั้นเอง

ภูเก็ต ตามประวัติศาสตร์ไทยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศีวิชัย และสมัยอาณาจักรศิริรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า " เมืองตะกั่วถลาง " เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราประจำเมืองเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัยเมืองถลางขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวฮอลันดาเข้ามาค้าขายแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเกาะภูเก็ตทางตอนเหนือและตอบกลางเป็นเมืองถลางที่มีคนไทยปกครอง ส่วนทางตะวันตกและตอนใต้ของเกาะเป็นเมืองภูเก็ตซึ่งมีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัย

จนสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางใต้ เรื่อยมาถึงเมืองถลาง ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางเพิ่งถึงแก่กรรมลง คุณหญิงจันภริยา และคุณมุกน้องสาว ได้รวบรวมกำลังพลต่อสู้กับกองทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรีและคุณหญิงมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในราวศตวรรษที่ 16 ได้มีชาวตะวันตก จีน และอินเดีย อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู และช่องแคบมะละกา ซึ่งทำให้ภูเก็ตได้รับอิทธิพลดังกล่าวไปด้วย โดยเฉพาะในเรื่องภาษา การแต่งกาย ประเพณีต่าง ๆ รวมถึงการก่อสร้างอาคารที่พักต่าง ๆ

ในราวศตวรรษที่ 18-19 ซึ่งเป็นช่วงปฎิวัติอุตสหกรรมของชาวตะวันตก การค้าแร่ดีบุกจึงได้เจริญรุ่งเรืองมาก และพื้นที่ตอนใต้ของเกาะ โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า " ทุ่งคา " เป็นบริเวณที่มีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์ ต่อมาหลวงพิทักษ์ทวีป ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในสมัยนั้น ได้ย้ายเมืองจากบ้านเก็ตโฮ่ มาตั้งเมืองใหม่บริเวณทุ่งคา และได้มีการตั้งมณฑลฝ่ายตะวันตก ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมณฑลภูเก็ต โดยพระยารัษภานุประดิษฐ์มหิศรภักดี หรือคอซิมบี้ ณ. ระนอง นอกจากนั้นท่านยังได้เป็นผู้วางรากฐานเมืองภูเก็ตที่นำความเจริญรุ่งเรือง ด้านการวางผังเมือง รวมทั้งรูปแบบอาคารตึกแถว ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ ณ. ปัจจุบันนี้

ที่ตั้งและอาณาเขต เกาะภูเก็ต
ภูเก็ต เป็นจังหวัดทางภาคใต้ด้านตะวันตกติดชายฝั่งทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 45 ลิบดา ถึง 8 องศา 15 ลิบดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 15 ลิบดา ถึง 98 องศา 40 ลิบดาตะวันออก ซึ่งมีสภาพเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีบริเวณเกาะอีก 32 เกาะ รวมเนื้อที่ประมาณ 570 ตารางกิโลเมตร ในส่วนที่กว้างที่สุดของกาะเท่ากับ 21.3 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดของเกาะเท่ากับ 48.7 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดกับคือ

ทางทิศเหนือ จดช่องปากพระจังหวัดพังงา
ทางทิศใต้ จดทะเลอันดามัน
ทางทิศตะวันออก จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
ทิศตะวันตก จดทะเลอันดามัน

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่โดยรวมประมาณร้อยละ 70 เป็นภูเขาสลับซับซ้อนทอดจากแนวทิศเหนือถึงทิศใต้ โดยส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันตกของเกาะ มียอดเขาที่สูงที่สุด ประมาณ 529 เมตร คือยอดเขา " ไม้เท้าสิบสอง " อยู่ในเขตตำบลป่าตอง และอีกประมาณร้อยละ 30 เป็นที่ราบอยู่ทางตอนกลาง และตะวันออกของเกาะ นอกจากนั้นยังมีคลองเล็ก ๆ อาทิ คลองบางใหญ่ คลองบางโรง คลองท่าจีน คลองท่าเรือ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นเกาะที่อยู่ในเขตศูนย์สูตร ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลลมมรสุม อากาศจึงอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดทั้งปี มีเพียง 2 ฤดูเท่านั้น คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน

ฤดูฝน จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน
ฤดูร้อน จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เมษายน


22 พฤษภาคม 2552

บทความพระราชดำรัสความสามัคคี





เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันพุธ ที่ 3 ธันวาคม 2512 ว่า


" . . . ชาติของเรารักษาเอกราชอธิปไตยมาได้จนถึงทุกวันนี้ด้วยความสามัคคี คนไทยเราแต่ละคน รู้จักประโยชน์ส่วนรวมของชาติ รู้จักปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องและเกื้อกูลกัน ผลการปฏิบัติของเรานั้นจึงเกิดเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถกำจัดและป้องกันภัยต่างๆ มิให้ทำอันตรายแก่เราได้ แม้จะมีศัตรูคิดร้าย บุกรุกคุกคามอย่างหนักหนาเพียงใด เราก็ยังไม่เพลี่ยงพล้ำ ขอให้ทุกคนสำนึกตระหนักว่า ความสมัครสมานสามัคคีของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะต้องรักษาไว้ให้ยั่งยืนอยู่ตลอดไป หากเรามีความประมาท เราแตกสามัคคีกันเมื่อใด เราก็จะเป็นอันตรายย่อยยับลงเมื่อนั้น ไม่มีใครอื่นที่ไหนจะช่วยเราได้นอกจาก ตัวเราเอง..."


และกระแสพระราชดำรัส ที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2494 ดังความตอนหนึ่งว่า
" . . . ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้ปรากฏตลอดมาว่า ชาติใดเสื่อมสูญย่อยยับอับปางไป ก็เพราะประชาชาติขาดสามัคคีธรรม แตกแยกเป็นหมู่คณะ เป็นพรรคเป็นพวก คอยเอารัดเอาเปรียบ ประหัสประหารซึ่งกันและกัน บางพรรคบางพวก ถึงกับเป็นไส้ศึกให้ศัตรูมาจู่โจมทำลายชาติของตนดังนี้ ข้าพเจ้าจึงขอชักชวนพี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ให้ระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษ ซึ่งได้กอบกู้รักษาบ้านเกิดเมืองนอนของเรามานั้นให้จงหนัก แล้วถือเอาความสามัคคี ความยินยอมเสียสละส่วนตัวเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ เป็นคุณธรรมประจำใจอยู่เนืองนิจ จึงขอให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลาย จงบำเพ็ญกรณีกิจของตนแต่ละคน ด้วยซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทนและกล้าหาญ แล้วอุทิศความเสียสละส่วนตัว ความเหน็ดเหนื่อยลำบากยากแค้น เป็นพลีบูชาบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้ก่อสร้างชาติเป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราชาวไทยจนบัดนี้"

การเสียกรุงศรี









การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างไทย-พม่า โดยการเสียกรุงเกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 (จุลศักราช 1129)[1] ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรพม่า

กองทัพพม่าอาศัยกำลังทหารที่เหนือกว่าโจมตีปล้นสะดมหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรอยุธยาทั้งทางเหนือและทางใต้ และเข้าปิดล้อมพระนคร ทหารอยุธยาป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกองทัพพม่าไว้ได้ กองทัพพม่าจึงชนะศึก ภายหลังกองทัพพม่ายกทัพมาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้นานกว่า 1 ปี 2 เดือน

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั้นเป็นการสูญเสียที่ใหญ่หลวงของไทย ทำให้ผู้คนถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ถูกฆ่าตายหรือไม่ก็หลบหนีไปตามป่าเขาเป็นจำนวนมาก ทรัพย์สมบัติถูกแย่งชิงหรือถูกทำลาย กรุงศรีอยุธยาอันเป็นราชธานีของไทยมานานกว่า 400 ปีถูกทำลายเสียหายย่อยยับจนไม่สามารถฟื้นคืนได้

ในปีเดียวกันนั้นเอง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชของไทย และทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมืองจนทางการยกเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"[2]

20 พฤษภาคม 2552

วัน ชาติ ฝรั่งเศส



14 กรกฎาคม Bastille Day วันชาติฝรั่งเศส
วัน Bastille คือวันที่ 14 กรกฏาคม เป็นวันที่คุก Bastille:ซึ่งคุมขัง นักโทษทางการเมืองในฝรั่งเศสถูกทำลายโดยพลังประชาชน วันนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ ของการสิ้นสุดการปกครองแบบราชาธิปไตยในประเทศฝรั่งเศส และเริ่มต้นศักราชของ การปกครองแบบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรก
ในวันหยุดประจำชาติวันนี้ คือห้วงเวลาที่ประชาชนชาวฝรั่งเศสจะร่วมกันรำลึกถึง การก่อตั้งสาธารณรัฐ อีกทั้งในวันนี้ยังเป็นวันที่เปรียบเสมือนกับรากเหง้าประวัติศาสตร์ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองอันน่าจดจำ ซึ่งลำดับเหตุการณ์โดยสังเขปในครั้งนั้น มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 ; บรรดาเหล่าขุนนางในระบอบการปกครอง แบบราชาธิปไตยเปิดประชุมสภาขุนนางทันทีที่ พวกเขาได้ข่าวว่า บรรดาชนชั้นกรรมมาชีพ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคมฝรั่งเศสใน สมัยนั้น เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้เป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญและก่อตั้งรัฐสภาแห่งชาติ
20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 ; ตัวแทนของคณะก่อการจากชนชั้นกรรมมาชีพ ได้กระทำสัตยาบรรณร่วมกัน ที่เรียกว่า Jeu de Paume ซึ่งจารึกไว้ว่า เหล่าคณะผู้ก่อการจะไม่ แตกแยกกันจนกว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญเป็น ผลสำเร็จ แนวความคิดของคณะผู้ก่อการ ได้รับการตอบรับอย่างยิ่งยวดจากประชาชนชาว ฝรั่งเศสที่ต้องต่อสู้กับความแร้นแค้น และสภาวะเสื่อมถอยของสังคมในสมัยนั้น ในขณะที่แนวความคิดนี้ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง กับชนชั้นขุนนาง14 กรกฏาคม ค.ศ. 1789 ;เมื่อมีแนวร่วมมากขึ้นทำคณะปฏิวัติ แข็งแกร่งขึ้นทุกขณะ ประชาชนในปารีสได้รวมตัวกันเดินขบวนไปยังคุก Bastille เพื่อ ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่มีความเห็นไม่ตรงกันกับบรรดาเหล่าขุนนางความล่มสลายของคุก Bastille ภายใน 1 วันด้วยพลังประชาชนทำให้การปฏิวัติประสบ ผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ; การปฏิวัติประสบผลสำเร็จ ความล่มสลาย ของคุก Bastille กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ และประชาธิปไตย ของชาวฝรั่งเศส ทุกคนตราบจนกระทั่งทุกวันนี้