22 มกราคม 2553

ดาหลา























ดาหลา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์





ลำต้น
ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็น บริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ใน เวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม

ใบ
มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ

ดอก
ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ ดอกดาหลา

พันธุ์
ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง

การขยายพันธุ์
ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. การแยกหน่อ
ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก
2. การแยกเหง้า
โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก
3. การปักชำหน่อแก่
โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลงต้นดาหลา

การเตรียมแปลงปลูกดาหลา
พื้นที่ดอน
ทำการพรวน ตากดินไว้ประมาณ 5 - 7 วัน และย่อยดินให้ละเอียดเก็บวัชพืชออกให้หมด

พื้นที่ลุ่ม
ทำการขุดยกร่องสวน มีคูน้ำลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตร แปลงปลูกกว้าง 2-3 เมตร ความยาวตามขนาดของพื้นที่ และมีการไถพรวนตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด

การเตรียมดิน
การเตรียมดินโดยไถพรวนดิน แล้วขุดหลุมปลูก จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมในกรณีที่ปลูกดาหลาแบบไม่ยกร่องสวน จะทำการไถปรับดินให้สม่ำเสมอ เพิ่มปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-20 ในอัตรา 1 : 25 แล้วขุดหลุมปลูกแบบเดียวกับการปลูกแบบยกร่องสวนนี้อาจปลูกแซมในไม้หลักเช่น ไม้ผล


ระยะปลูก
การปลูกดาหลาจะไม่มีระยะปลูกที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของเกษตรกรเอง โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะปลูกในระยะ 2 x 2 เมตร

การปลูก
โดยใช้หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว โดยสังเกตุให้หน่อนั้น ๆ มีใบติดมาประมาณ 4 คู่ใบ ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วทำการกลบดินให้สูงประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม อาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพอกทับโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น นอกจากนี้ควรหาไม้หลักมาผูกติดกับลำต้นกันต้นโยก

การดูแลรักษาดาหลา
การให้ปุ๋ย
จะให้ปุ๋ยดาหลาประมาณ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง ซึ่งจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16) ในอัตรา 96 กก./ไร่/ปี และให้ปุ๋ยคอกในอัตรา 15 กก./ต้น/ปี นอกจากนี้อาจใช้อินทรีย์วัสถุที่ผุพังแล้ว เช่น ใบไม้ต่าง ๆ หรือลำต้นแก่ของดาหลา, วัชพืชที่ขึ้นตามท้องร่อง มาเป็นปุ๋ยหมัก หรืออาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพูนใส่ตามโค้นต้น ซึ่งดินแลนนี้จะมีอินทรีย์วัตถุสูง

การให้น้ำ
ดาหลาเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่มากพอสมควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการปลูก ควรรดน้ำให้ชุ่ม โดยใช้แครงสาดวันละ 1 ครั้ง เมื่อต้นดาหลาตั้งตัวได้อาจเว้นระยะห่างของการให้น้ำจากวันละครั้งออกไปเป็นประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ถ้าเป็นฤดูร้อนควรเพิ่มการให้น้ำมากขึ้นโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย (springkler) บนแปลงที่ไม่ยกร่อง


การป้องกันกำจัดวัชพืช
ดาหลาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกหน่อได้มาก ทำให้กอแน่นใบบังแสงซึ่งกันและกัน การกำจัดวัชพืชจะต้องกระทำมากในช่วงแรกของการปลูก เมื่อดาหลาโตมาก ๆ จะทำให้แสงที่ส่องผ่านมากระทบพื้นดินน้อย วัชพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จึงไม่ต้องทำการกำจัดวัชพืชมากนัก

โรคและแมลง
ยังไม่พบโรคที่เป็นปัญหาสำคัญกับดาหลา แต่มีแมลงสำคัญดังนี้

1. หนอนเจาะลำต้น
ลักษณะการทำลาย
เข้าทำลายต้นแก่ โดยไปเจาะบริเวณลำต้น ทำให้ต้นดาหลาหยุดชะงักการเจริญเติบโต และไม่สามารถให้ออกดอกได้
การป้องกันกำจัด
ใช้ฟูราดาน 3% โรยบริเวณรอบ ๆ โค้นต้น หรืออาจใช้เซฟวิน

2. มดแดง
ลักษณะการทำลาย
กรดจากสิ่งขับถ่ายของมดแดงจะทำให้กีบดอกเกิดรอยขาวเป็นจุด ๆ
การป้องกันกำจัด
เก็บรังมดแดงออกจากต้น และใช้ย่าฆ่ามด

การเก็บเกี่ยวดาหลา
ดอกดาหลาที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้มีอายุประมาณ 2 อาทิตย์ นับตั้งแต่เริ่มแทงหน่อดอก ตัดดอกในช่วงเช้าโดยการตัดก้านดอกให้ยาวชิดโคนต้น แล้วแช่ก้านดอกลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่

19 มกราคม 2553

แผ่นดินไหวที่เฮติ

======เรามาช่วย....เฮติกันเถอะ====

มว.ต่างประเทศฝรั่งเศส จวกสหรัฐฯ พยายามครอบงำเฮติ จี้ยูเอ็นตรวจสอบหลังกองกำลังสหรัฐกักกันความช่วยเหลือชาติอื่น ไล่เครื่องบินบรรเทาทุกข์ฝรั่งเศสกลับประเทศ ด้านยูเอ็นเรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงขอเพิ่มเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาสันติภาพในเฮติ 3,500 นาย รับมือเหตุร้าย หวั่นเกิดจลาจล เหตุความช่วยเหลือยังไปไม่ถึงมือผู้ได้รับความเสียหาย ด้าน "บิล คลินตัน" ถึงเฮติ ฝังแล้ว 7 หมื่นศพ

เมื่อวันที่ 19 ม.ค. นายเบอร์นาร์ด คุชเนอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส วิจารณ์บทบาทการให้ความช่วยเหลือของสหรัฐในเฮติ พร้อมทั้งเรียกร้องให้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เข้ามาตรวจสอบ และสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทที่ค่อนข้างมากเกินไปในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและช่วยฟื้นฟูเฮติจากเหตุแผ่นดินไหว เพราะเห็นว่า ความพยายามช่วยเหลือเฮติของนานาชาติมีเป้าหมายเพื่อช่วยเฮติ ไม่ใช่เข้าไปครอบงำหรือเข้าไปยึดดินแดนแห่งนั้น

ถ้อยแถลงไม่พอใจของกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส มีขึ้นหลังจากกองกำลังของสหรัฐ ได้สั่งให้เครื่องบินบรรเทาทุกข์ของฝรั่งเศสลำหนึ่งที่บรรทุกอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์ภาคสนามออกจากสนามบินปอร์โตแปรงซ์ ซึ่งแออัดคับคั่งและได้รับความเสียหายบางส่วนกลับไปฝรั่งเศส เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้นายอลอง โจยันเดท รัฐมนตรีด้านความร่วมมือของฝรั่งเศส ออกมาแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ทันที

รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส ยังเตือนไปยังรัฐบาลประเทศต่างๆ และกลุ่มบรรเทาทุกข์ทั้งหลาย ไม่ควรทุ่มเถียงหรือทะเลาะเบาะแว้งกันขณะพยายามเข้าไปช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนในเฮติ ขณะที่นายโจยันเดทยืนยันว่า ปฏิบัติการทั้งหมดในช่วงนี้คือการช่วยเหลือเฮติ ไม่ใช่การเข้าไปยึดครอง และสิ่งสำคัญที่สุดที่หน่วยงานบรรเทาทุกข์หรือประเทศผู้ให้การช่วยเหลือควรคำนึงถึงที่สุดคือ ประชาชนชาวเฮติที่กำลังเดือดร้อน

ด้าน นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เผยว่า ต้องการให้คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ 2,000 นาย และตำรวจอีก 1,500 นาย เข้ามายังเฮติเพิ่มเติม เพื่อทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ท่ามกลางสถานการณ์ความวุ่นวายของผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเฮติ ที่เริ่มไม่พอใจ หลังจากได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศล่าช้า ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นายบันได้ร้องขอให้ผู้ประสบภัยอยู่ในความสงบ และว่าความช่วยเหลือกำลังหลั่งไหลถึงมือผู้ประสบภัยแล้ว

ขณะที่โฆษกของนายบัน เผยว่า ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ยูเอ็นในเหตุแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 46 คน และอีกกว่า 500 คนยังสูญหาย

ในส่วนผู้เสียชีวิต รัฐบาลเฮติได้ประกาศว่า มีการฝังแล้ว 7 หมื่นศพ โดยประมาณการของรัฐบาลคาดว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิต 2 แสนคน โดยวานนี้ได้ประชุม ครม.และมีมติ คือ 1.ให้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เป็นหน่วยงานหลักในการให้การช่วยเหลือและลำเลียงสิ่งของ 2.อำนาจการควบคุมทางอากาศสนามบินเฮติ และความสงบเรียบร้อยทั่วไปให้อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐ 3.การทูตและการอนุมัติต่างๆ ยังคงอยู่ในอำนาจของรัฐบาลเฮติ

ด้าน แครอล โจเซฟ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของเฮติ เปิดเผยที่กรุงปอร์โตแปรงซ์ ว่า โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ หรือ WFP และกลุ่มบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมจากสาธารณรัฐโดมินิกัน ได้ปันส่วนอาหารจำนวน 1 แสน 5 พันชุด และเต๊นท์อีก 2 หมื่นหลัง แจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว รวมถึงแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดไปตามสถานที่พักพิงชั่วคราวอีกด้วย ส่วนการเก็บศพยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางการเก็บซากปรักหักพังของอาคารที่พังถล่มลงมา เพราะผลพวงของแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.0 ริคเตอร์

สหประชาติ ได้ประเมินว่า มีประชาชน 3 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ รวมทั้งผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยจำนวน 3 แสนคน องค์การนานาชาติเพื่อผู้อพยพ ระบุว่า มีประชาชน1 ล้านคน กำลังต้องการที่พักพิงฉุกเฉินอย่างเร่งด่วน ด้านสหภาพยุโรป ระบุว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ทำให้อาคารต่าง ๆ ราว 4 พันแห่ง ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ พังราบเป็นหน้ากลอง

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา สภาพในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เริ่มมีชาวเฮติรวมกลุ่มกันออกปล้นสะดมจากเหล่าผู้รอดชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งพักอยู่ตามสถานที่พักพิงชั่วคราว มีการแก่งแย่งสิ่งของบรรเทาทุกข์กันอย่างดุเดือด ขณะที่ผู้รอดชีวิตบางส่วนเริ่มทยอยอพยพออกจากเมืองหลวง เพราะไม่มีบ้านอยู่ กลัวเกิดแผ่นดินไหวซ้ำ และทนอยู่กับซากศพจำนวนมากไม่ไหว

ทั้งนี้ ความช่วยเหลือทั้งอาหารและน้ำ ตลอดจนอุปกรณ์ยังชีพอื่น ๆ และยารักษาโรคยังไปไม่ถึงมือผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึง เนื่องจากสภาพถนนโดยรอบบริเวณสนามบิน และท่าเรือต่างได้รับความเสียหาย รวมถึงยังมีเศษซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือนกีดขวางเส้นทางอยู่ ทำให้การขนส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ยากเข้าไปในพื้นที่ประสบภัยได้ อีกทั้งพนักงานขับรถส่งของบรรเทาทุกข์หลายคนเริ่มไม่เต็มใจปฏิบัติหน้าที่ เพราะกลัวถูกปล้นระหว่างทาง กระนั้นภาพรวมของสถานการณ์ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง แม้มีเหตุตึงเครียดขึ้นบ้างระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประสบภัย





ประเทศเฮติ



ธงชาติ

ตราแผ่นดิน

ฮติ (Haiti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเฮติ (Republic of Haiti) เป็นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะฮิสปันโยลาในทะเลแคริบเบียน โดยมีเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียงด้วย คือ ลาโกนาฟว์ (La Gonâve) ลาตอร์ตู (La Tortue) เลกาเยอมีต (Les Cayemites) อีลาวาช (Île à Vache) ลากรองด์เก (La Grande Caye) และนาวาส (Navasse) โดยประเทศเฮติแบ่งครึ่งเกาะฮิสแปนิโอลากับสาธารณรัฐโดมินิกัน มีพื้นที่ 10,714 ตารางไมล์ (27,750 ตารางกิโลเมตร) มีเมืองหลวงคือกรุงปอร์โตแปรงซ์

อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งนี้ประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2347 ใช้ชื่อประเทศว่าเฮติ ซึ่งมาจากชื่อเกาะในคำอาราวักเก่าว่า อายิตี (Ayiti) โดยถือว่าเป็นประเทศเอกราชแห่งที่ 2 ในทวีปอเมริกา (รองจากสหรัฐอเมริกา) และเป็นสาธารณรัฐเอกราชของคนผิวดำแห่งแรกของโลกอีกด้วย แต่ทั้ง ๆ ที่เก่าแก่และมีอายุยาวนาน เฮติกลับเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก

13 มกราคม 2553

นครรัฐลิกเตนสไตน์



นครรัฐลิกเตนสไตน์












ประเทศลิกเตนสไตน์(Liechtenstein)





ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein) หรือชื่อทางการคือ ราชรัฐลิกเตนสไตน์ (Principality of Liechtenstein) (เยอรมัน: Fürstentum Liechtenstein) เป็นประเทศที่อยู่ในวงล้อมของประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Doubly Landlocked Country) มีพื้นที่ขนาดเล็ก อยู่ทางตะวันตกของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และด้านตะวันออกติดกับออสเตรีย ภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูง เป็นที่นิยมของนักเล่นกีฬาฤดูหนาว และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นประเทศที่เก็บภาษีต่ำมากประเทศหนึ่งด้วย


เมืองหลวง วาดุซ

เมืองใหญ่สุด ชาน

ภาษาราชการ ภาษาเยอรมัน

รัฐบาล ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

- เจ้าชาย เจ้าชายฮันส์-อะดัมที่ 2

- ผู้สำเร็จราชการ เจ้าชายอะโลอิส

- นายกรัฐมนตรี ออตมาร์ ฮัสเลอร์

เอกราช

- วันที่ พ.ศ. 2349 (สนธิสัญญาเพรสส์บูร์ก)

เนื้อที่

- ทั้งหมด 160.4 กม.² (ลำดับที่ 215)

- พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร

- ก.ค. 2549 ประมาณ 33,987 (อันดับที่ 211)

- 2543 สำรวจ 33,307
- ความหนาแน่น
210/กม.² (อันดับที่ 52)

GDP (PPP)
2544 ประมาณ
- รวม 1.786 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 185)

- ต่อประชากร 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ ไม่มีการจัดอันดับ)
HDI (2546)
n/a (n/a) (อันดับที่ ไม่มีการจัดอันดับ)

สกุลเงิน
ฟรังก์สวิส (CHF)

เขตเวลา
CET (UTC+1)

- ฤดูร้อน (DST)
CEST (UTC+2)

รหัสอินเทอร์เน็ต
.li

รหัสโทรศัพท์
+423


07 มกราคม 2553

Les Caractéristiques

1.Quelle sont les cinq qualités que vous préfére?

-J'aime les gens qui une rigolo,gais et

-

2.Quelles sont les cinq caractéristiques que vous n'aimez pas?

- Je n'aime pas les gens qui sont bagarreur , obscène ,égoïste etcapricieux

Utilisez trois adjectif pour vous décrire?


-J’ne suis pas une obscène , sensible et tendresse