23 เมษายน 2553

ประวัติ สงครามบ้านร่มเกล้า


ประวัติ สงครามบ้านร่มเกล้า

จากกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดนที่อ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ

ทั้งนี้โดยมีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ. 2451 กำหนดให้ลำน้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีน้ำเหือง 2 สาย ฝรั่งเศสตัดสินเอาเองโดยไม่ได้แจ้งให้กรุงเทพฯทราบ เลือกสายน้ำที่ทำให้ตนได้ดินแดนมากขึ้นหน่อย ลาวรับช่วงถือเขตแดนนี้

แต่ลำน้ำเหือง 2 สายนั้นไม่ตรงกับแนวลำน้ำในปัจจุบันที่ปรากฏในแผนที่สหรัฐทำให้รัฐบาลไทยช่วงสงครามเวียดนาม ลำน้ำในปัจจุบันเรียกว่าเหืองป่าหมัน ไม่ใช่ชื่อที่เคยปรากฏในเอกสารใด ๆ เมื่อพ.ศ. 2450 - 2451

เขตแดนตรงนั้นไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งปี 2530 ลาวอ้างว่าบริเวณบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว เนื่องจากแผนที่คนละฉบับกับไทย ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดในการสำรวจเมื่อปี 2450

ช่วงปี 2510 - 2520 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เคลื่อนไหวรุนแรงที่จะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเผ่าม้ง ถูกใช้เป็นพื้นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เพราะสามารถข้ามลำน้ำเหืองเข้ามาในเขตไทยได้ง่าย และบริเวณพื้นที่นี้กลายเป็นยุทธบริเวณอันสำคัญระหว่างทหารกับพคท.

ชาวม้ง ซึ่งเป็นแนวร่วมสำคัญของพคท. ถูกปราบปรามอย่างหนัก หนีข้ามลำน้ำเหืองเข้าไปในเขตลาว

ช่วงปี 2525 สถานการณ์ในอินโดจีนเปลี่ยนแปลง ประกอบกับนโยบาย 66/2523 ของรัฐบาลไทยคือใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำทหาร” ทำให้ชาวม้งตัดสินใจกลับเข้ามาตามโครงการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กองทัพภาคที่ 3 ได้ตัดถนนสายยุทธศาสตร์และแนวชายแดนจากอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ขึ้นไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า

กลายเป็นเขตสัมปทานป่าไม้ มีการจัดตั้งชุดทหารพรานคุ้มครองที่ 3405 ขึ้น

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหา !
วันที่ 31 พฤษภาคม 2530 ทหารลาวยกกำลังเข้ามาในพื้นที่ซึ่งฝ่ายไทยอ้างว่าอยู่ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทป่าไม้เอกชนเสียหาย 3 คัน มีผู้เสียชีวิต 1 คน หายสาบสูญ 1 คน ทหารพรานชุด 3405 เข้าปะทะกับทหารลาว

วันที่ 1 มิถุนายน 2530 ทหารลาวเข้าโจมตีม้งที่บ้านร่มเกล้า โดยอ้างว่าเป็นการกวาดล้างม้งที่เคลื่อนไหวต่อต้านทางการลาว และมีทหารลาวอีกชุดหนึ่งยกกำลังข้ามพรมแดนเข้ามาที่เขตบ้านนาผักก้าม และบ้านนากอก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ยิงราษฎรไทยตาย 1 คน จับกุมตัวไป 6 คน หนีรอดมา 1 คน โดยกล่าวหาว่าราษฎรเหล่านั้นลักลอบเข้าไปตัดไม้ในลาว

ฯลฯ

ขณะนั้นสหรัฐเผ่นออกไปจากเอเชียแล้ว ทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากไว้ในเวียดนาม ทางอีสานใต้มาถึงตะวันออกกองพลใหญ่ของเวียดนามจ่อคอหอยอยู่ ทางอีสานเหนือภายใต้ชื่อทหารลาว แต่ความจริงน่าจะเป็นกองกำลังผสมของหลายชาติ โดยมีชาติมหาอำนาจยืนทะมึนอยู่ข้างหลัง ทั้งได้ใช้เทคโนโลยีสูงยิ่งในการบัญชาการ

ยามนั้นกองทัพไทยปกป้องเอกราชอธิปไตยจนแม้กระสุนปืนใหญ่ก็ไม่เหลือ ที่ระดมมาจากมิตรประเทศในอาเชียนก็หมดสิ้น
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธสั่งการให้อดีตทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ พ.อ.อมรรัตน์ จินตกานนท์ ร่วมกับ “คณะทำงานลับ” คนหนึ่ง และทีมงานของเขา ติดต่อประสานงานกับกองทัพจีน

นำไปสู่กระบวนการ “วิธีการพิเศษ” ลำเลียงทั้งปืนใหญ่และกระสุนจากจีนมาใช้ !

ปืนใหญ่และกระสุนปืนใหญ่ชุดนั้นมีความหมาย 2 นัย นัยแรกตรงไปตรงมา คือเป็นยุทโธปกรณ์เสริมและทดแทน นัยที่สองที่อาจจะสำคัญกว่าก็คือเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของ “สาส์น” ที่ต้องการ “สื่อ” ต่อฝ่ายตรงกันข้าม

ลักษณะกระสุนชนิดใหม่ที่ถูกยิงออกไปทำให้เกิดความเข้าใจว่าศึกครั้งนี้ไทยไม่ได้รบโดยโดดเดี่ยวแล้ว จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้มีการเจรจา และถอนทหารออกจากแนวรบ

อาจกล่าวได้ว่าเป็นชัยชนะโดยไม่ต้องรบ

แน่นอนว่าวิถีทางในการรักษาเอกราชอธิปไตยของชาตินับแต่ประวัติศาสตร์มา คือ วิถีทางการทูต และวิถีทางการทหาร ต้องใช้วิธีทั้งสองตามสถานการณ์ และอย่างพลิกแพลง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ใช้แต่ทางใดทางหนึ่ง คำพูดที่ว่า “สู้ตาย” เป็นเรื่องเหลวไหลที่นักการทหารชั้นยอดจะไม่ยอมใช้ เพราะเขาใช้แต่คำว่าสู้เพื่อชนะ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์

เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของไทยคือการรักษาเอกราชอธิปไตยของไทยโดยไม่ให้บอบช้ำต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

หลังจากเหตุการณ์ร่มเกล้าแล้ว ความจริงคนไทยควรจะได้รู้ว่าใครคือมิตรแท้ แต่การนำความจริงมาเปิดเผยในบางสถานการณ์ย่อมไม่เป็นผลดี เช่น สมมติว่าในช่วงนั้นประกาศให้รู้ทั่วกันว่าไทยไม่ได้รบกับลาวประเทศเดียว ก็เสมือนเท่ากับประกาศสงครามกับเวียดนามและสหภาพโซเวียตโดยตรง มีหรือที่ศึกจะไม่ใหญ่ขึ้น และถ้าเป็นเช่นนั้นใครจะรับผิดชอบต่อเอกราชอธิปไตยของชาติ

เมื่อตอบคำถามนี้ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องกล่าวว่า เป็นโชคดีของประเทศไทยที่พคท.กับเวียดนามและลาวเข้ากันไม่ได้ ขณะเดียวกันจีนก็หันมาสัมพันธ์กับไทยในลักษณะรัฐต่อรัฐ มากกว่าพรรคต่อพรรค

นี่เป็นผลส่วนหนึ่งจากที่การที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธเดินทางไปเจรจาความเมืองกับเติ้งเสี่ยวผิงในขณะนั้น !

1.. มีมหาอำนาจมาช่วยลาวรบจริง
2.. ด้วยเทคโนโลยี จาก มหาอำนาจ ทำให้เขาเหนือกว่าเราในช่วงแรกของสงคราม เป็นต้นว่า
เขามี เรดาห์ซึ่งสามารถจับ วิธีการยิงปืนใหญ่ของเราได้ ดังนั้นเราจึงต้อง ย้ายที่ตั้งปืนใหญ่ทันทีเมื่อยิงเสร็จ

3.. เรื่อง อาวุธจากจีนนั้น ผมว่าคงเป็นแค่ประเด็นเสริม เหมือนกรณี ประเด็นเสริม Dr. เอเดรียน

4.. จริง ๆ แล้ว เพราะว่า ทางไทยได้ส่งหน่วย รบพิเศษ ไปปฏิบัติการในแนวหลังของฝ่ายตรงข้าม ในลักษณะสงครามกองโจร
ทำให้ ฝ่ายตรงข้ามเกิดวิกฤตขึ้น เนื่องจากขาดการส่งกำลังบำรุง

5..จากหัวข้อกระทู้ เบื้องหลัง....ไทยไม่ได้แพ้ สรุปได้ว่า จาก
ที่เราได้ส่ง หน่วยรบพิเศษไปปฏิบัติการในแนวหลัง ของฝ่ายตรงข้าม
ทำให้ ทางลาว ต้องส่งผู้แทนมาเจรจา กับ ไทย เพื่อเจรจา ขอ สงบศึก ซึ่ง ในมุมมองของทางการเมืองและทหารแล้ว
ประเทศคู่สงครามประเทศใด ขอเจรจาก่อน หมายถึง ขอยอมแพ้แล้วนั่นเอง
จากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่ามีฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบ
อาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้ง
บางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนาม
และลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดา

ระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทย
และยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้
ที่ตั้งบนเนิน ๑๔๒๘ มีการดัดแปลงการตั้งรับอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ลักษณะเป็นเนินเขาบีบแคบ
ในการเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้าอย่างเดียว ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบ หากจะต้องทำการรบในกรอบปกติ

11 เมษายน 2553

คุณคิดอย่างไร นปช.

คุณคิดอย่างไร นปช.

10 เมษายน 2553

สงการนต์


สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ