30 พฤษภาคม 2552

สาเหตุของการปฏิวัติ





สาเหตุของการปฏิวัติ
สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

สภาพทางสังคม
สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

[แก้] การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

[แก้] การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ

[แก้] สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

[แก้] สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

[แก้] สภาพทางสังคม
สมัยนั้น สังคมของ
ฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ใน
รัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

[แก้] การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บ
ภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย

[แก้] การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทาง
ศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ

[แก้] สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด
ในปี
พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี
พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี
พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์